วันที่​ 26​ มิถุนายน​ 2563​ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี) ทดสอบระบบเพื่อเตรียมความพร้อมเปิดแหล่งท่องเที่ยว​รวมทั้งได้ติดตาม ทดสอบ และแนะนำการใช้แอพพลิเคชัน queq และการใช้งานเว็บไซต์ไทยชนะในพื้นที่อนุรักษ์ของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่​ 9​ (อุบลราชธานี)​ ดังนี้

1.​ นายณฐพร​ ศรีพรหม​ นักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการ​ ร่วมกับนายปราโมทย์​ ราตรี​ ผอ.ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า​ ปฏิบัติภารกิจ​ ซักซ้อมการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดการท่องเที่ยว​ (Test​ run)​ ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ​ ณ​ อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร

2.​ นางนพมาศ​ แก้วพรมชัย​ นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ​ หน.ศูนย์ฯ​ และเจ้าหน้าที่​ จำนวน​ 2​ นาย​ ร่วมกับ​นายสมโภชน์​ เที่ยงจิตต์ ผอ.ส่วนอุทยานแห่งชาติ​ และนายธีรยุทธ​ วงศ์ไพเสริฐ​ ผอ.ส่วนอนุรักษ์และป้องกันทรัพยากร​ ปฏิบัติภารกิจซักซ้อมการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดการท่องเที่ยว​ (Test​ run)​ ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี​ ณ​ อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ​ อุทยานแห่งชาติผาแต้ม​ และวนอุทยานผาหลวง​

ทั้งนี้​ การซักซ้อมเตรียมความพร้อมในแต่ละพื้นที่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย​ และได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเป็นอย่างดี

โดยในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี​ นายสฤษดิ์ วิฑูรย์​ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี​ ได้ให้เกียรติร่วมทดสอบระบบเพื่อเตรียมความพร้อมเปิดการท่องเที่ยวรูปแบบ​ New​ Normal​ ในครั้งนี้ด้วย​ รวมทั้งได้มอบนโยบายและให้คำแนะนำในการเตรียมความพร้อมรับมือกับการท่องเที่ยวในพื้นที่อนุรักษ์​ของจังหวัด​ ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่​ 1​ กรกฎาคม​ 2563​ เป็นต้นไป​ ดังนี้
1.​ ​จุดคัดกรอง Covid-19​ บริเวณด่านทางเข้าให้มี​ QR​ Code​ ไทยชนะ​ ติดตั้งไว้หลายๆ​ อัน ถ้ามีรถยนต์ออหน้าด่านให้เจ้าหน้าเดินถือ​ QR​ Code​ ไปให้นักท่องเที่ยวสแกนบนรถได้เลย
2.​ ให้มีสัญลักษณ์ในการเข้าพื้นที่เมื่อผ่านจุดคัดกรองแล้ว​ ไม่จำเป็นต้องใช้สติ๊กเกอร์​ อาจใช้เป็นฝ้ายผูกแขน​ หรือวัสดุธรรมชาติอย่างอื่นแทนได้
3.​ ให้ดูแลเรื่องความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวให้ดี ทั้งปลอดภัยจาก Covid-19​ และอันตรายต่างๆ​ ที่อาจเกิดขึ้น​ในแต่ละจุด
4.​ จัดการระยะห่างของการท่องเที่ยวในอุทยานฯ​ ให้ดี​ มีสัญลักษณ์ชัดเจน​ รวมทั้งอาจจัดให้มีสารวัตร​ Covid​ คอยดูแลเรื่องระยะห่างและความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว
5.​ ในอนาคตการดูแลความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวที่เป็นจุดเสี่ยง​ อาจต้องนำเทคโนโลยี​ Mobile CCTV มาใช้ในการบริหารจัดการ
6.​ ให้นำเทคโนโลยี​ AR​ มาใช้นำเสนอแหล่งท่องเที่ยวในรูปแบบสามมิติ​ ให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
7.​ ให้ทำ​ QR​ Code​ เล่าเรื่องราวแหล่งท่องเที่ยวหรือสื่อความหมายแต่ละจุด​ ไว้ให้นักท่องเที่ยวที่มีสมาร์ทโฟนได้เปิดอ่าน​ โดยไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่บรรยายไว้ด้วย
8.​ ให้มีการจัดการขยะในพื้นที่ให้ดีและมีการกำจัดที่ถูกวิธี​
9.​ สร้างเชื่อมโยงการท่องเที่ยวประวัติศาสตร์​ และเสน่ห์ของชุมชนให้เข้ากันเป็น​ Smart​ Tourism, Smart​ City ให้ได้รวมทั้งพัฒนาและใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์

อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร

อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ

อุทยานแห่งชาติผาแต้ม

วนอุทยานน้ำตกผาหลวง

นางนพมาศ​ แก้วพรมชัย
นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ
หน.ศูนย์สารสนเทศฯ​
รายงาน